วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551

Reductil & Xenical

ในปัจจุบันนี้ถ้าจะถามถึงยาที่ใช้ในการรักษา โรคอ้วนที่ปลอดภัยที่สุด สามารถทานได้ในระยะยาว และมีผลข้างเคียงที่น้อยที่สุดแล้ว คนจะตอบได้ทันทีเลยว่าเป็นยา สองกลุ่มนี้เท่านั้นนะครับ เพราะผ่านการรับรองจาก องค์การอาหารและยาของ ประเทศสหรัฐอเมริกา ว่าทานได้ติดต่อ ถึง 2 ปีนะครับ สำหรับยาในกลุ่มอื่นนั้นไม่ควรรับประทานครับเพราะถึงแม้จะราคาถูกแต่ก็เสี่ยงกับอาการที่ตามมาเยอะมากครับ อีกทั้งยังพบว่ามีการกลับมาอ้วนใหม่ได้เร็วมากครับ วันนี้จึงอยากจะมาแนะนำหน้าตาของยาเหล่านั้นให้ทุกคนได้รู้จักกันครับ















Reductil ผลข้างเคียงน้อยครับ



Xenical ยานี้นิยมใช้ในผู้ป่วยที่มีโรคอ้วนร่วมกับภาวะ เบาหวาน เนื่องจากมีวิจัยรับรองว่ามีผลดีกับผู้ป่วยครับ















ข้อบ่งชี้ในการกินยาคือ ดัชนีมวลกาย(BMI) มากกว่า 25 หรือ มากกว่า 23 ร่วมกับมีโรคแทรก
ส่วนยาอีกกลุ่มที่ ไม่ควรรับประทานเป็นระยะเวลานาน และมีผลข้างเคียงสูง ได้แก่ phentamin ครับ























ต้องระมัดระวังให้มากนะครับ ในวันต่อไปจะมาแนะนำวิธีรักษาอื่นๆ อีกครับ สวัสดีครับ






วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ข้อเท็จจริงโรคอ้วน

ยังไม่เคยเห็นใครที่ขันอาสาออกหน้ารับกับ”ความอ้วน” โดยยินดีสักครั้ง ทั้งนี้เพราะภาวะดังกล่าวเป็นภาวะล้นเกินของโภชนาการ หรืออาจมีเหตุจากความบกพร่องทางด้านความสมดุลของร่างกาย แถมยังก่อให้เกิดโรคร้ายตามมาอีกเป็นระลอก ที่แน่ ๆ สภาพของ “คนอ้วน” ไม่ค่อยน่าดูนักในสายตาของใครต่อใคร เว้นไว้แต่เป็นตัวตลกให้เพื่อนขำขันก็เท่านั้นดร.แกรมม์ คลักสตัน ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายโภชนาการ สำนักงานใหญ่องค์การอนามัยโลก แสดงความเป็นห่วงว่าปัจจุบัน “โรคอ้วน” (Obesity) กำลังคุกคามสุขภาพของประชาชนเกือบทั่วโลก (ปัจจุบันมีประชากรราว 1,500 ล้านคน) หนึ่งในสี่ของปัญหาอยู่ในประเทศแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้โดยโรคอ้วนจะเพิ่มปริมาณผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันอุดตันในเส้นเลือด ซึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ได้พยายามรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงโรคภัยที่จะตามมากับภาวะอ้วน (FAT) ขณะเดียวกันประเทศที่เริ่มประสบปัญหากับโรคอ้วนควรต้องผลักดันปัญหาล้นเกินทางโภชนาการให้เป็นประเด็นสำคัญระดับชาติ
ข้อมูลจากราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ระบุว่า ภาวะอ้วนเป็นโรคอย่างหนึ่งซึ่งมีปริมาณไขมันในร่างกายมากกว่าปกติ โดยลักษณะการกระจายตัวของไขมันในร่างกายที่มีผลร้ายต่อสุขภาพนั้นแยกออกเป็น “อ้วนทั้งตัว” กับ “อ้วนลงพุง”อ้วนทั้งตัว – จะพบว่าผู้ป่วยมีไขมันทั้งร่างกายมากกว่าปกติ และไขมันที่มาก ๆ นั้นไม่ได้จำกัดอยู่ในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งของร่างกายโดยเฉพาะอ้วนลงพุง – จะพบว่าผู้ป่วยมีไขมันของอวัยวะในช่องท้องมากกว่าปกติ รวมทั้งอาจมีไขมันใต้ชั้นผิวหนังบริเวณหน้าท้องเพิ่มขึ้นด้วยบางรายเป็นโรคอ้วนทั้งสองลักษณะแต่พบไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นแค่เพียงลักษณะใดลักษณะหนึ่งเท่านั้นการวัดปริมาณไขมันในช่องท้องและไขมันใต้ชั้นผิวหนังบริเวณหน้าท้องจะบอกได้ว่าเราเป็นโรคอ้วนลงพุงหรือไม่ แต่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคอ้วนทั้งตัวหรือเปล่านั้น หากต้องการคำตอบที่แน่นอน ต้องทำการวัดดูปริมาณไขมันในร่างกายว่ามีมากน้อยขนาดไหน โดยใช้เครื่องมือพิเศษ ซึ่งสิ้นเปลืองและยุ่งยากทั่วไปจึงใช้ดัชนีความหนาของร่างกายเป็นหลักในการวินิจฉัย ประกอบกับอัตราส่วนของเส้นรอบเอวต่อเส้นรอบสะโพก มาตรฐานนี้ใช้สำหรับการประเมินภาวะการสะสมไขมันในกลุ่มคนที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปค่าความหนาของร่างกาย คำนวณได้โดยใช้น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสองน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หาร ส่วนสูง (เมตร)2ค่าปกติจะอยู่ระหว่าง 20.0-24.9 กก./ม2คนผอมจะมีความหนาน้อยกว่า 20.0 กก./ม2คนอ้วนจะมีความหนามากกว่า 24.9 กก./ม2หากค่าความหนาสูงกว่ามาตรฐานสามารถสรุปได้ว่าคุณเป็นโรคอ้วนแบบอ้วนทั้งตัว




การรักษา ใช้ปฎิบัติการ 3 อ คือการ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ คือ 1.ควบคุมอาหาร 2. ออกกำลังกาย 3.ควบคุมอารมณ์อยากในการรับประทาน นอกจากนั้นถ้าเป็นผุ้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มอ้วนในระยะที่ 1 และ 2 แล้วนั้น ปัจจุบันมียาที่สามารถรับประทานได้โดยมีผลข้างเคียงที่น้อย (ส่วนภาวะโยโย่นั้นน้อยกว่ายาอื่นๆ) ส่วนการผ่าตัดใช้ในรายที่มี BMI มากกว่า 40 ขึ้นไปที่โรคแทรกซ้อนอื่นเช่น เบาหวาน ความดัน และโรคหัวใจ




ในครั้งหน้าจะมาให้ความรุ้และความรู้จักในเรื่องของการใช้ยาเพื่อลดความอ้วน และเป็นยาที่ปลอดภัยอีกทั้งได้รับการผ่านการรับรองของ องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา